เมนู

ผู้สั่งและผู้รับสั่งนั้น ถ้าภิกษุผู้สั่งมีมารดาและบิดาอยู่ด้วย, เธอผู้สั่ง ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย, ถ้ามีพระอรหันต์อยู่ด้วย, เธอแม้ทั้ง 2 รูป ย่อมต้อง
อนันตริยกรรมด้วย. ถ้าภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นมีมารดาและบิดาอยู่ (ในสนามรบ),
ภิกษุผู้รับสั่งเท่านั้นแล ย่อมต้องอนันตริยกรรม. แต่เมื่อภิกษุผู้สั่ง สั่งเจาะตัวว่า
เธอจงแทง จงประหารจงฆ่านักรบคนนั้น ผู้สั่ง ต่ำ มีเสื้อสีแดง มีเสื้อสีเขียว
ซึ่งนั่งอยู่บนคอช้าง (หรือ) นั่งอยู่ตรงกลาง (หลังช้าง), ถ้าภิกษุผู้รับสั่งนั้น
ฆ่านักรบคนนั้นนั่นเอง, เป็นปาณาติบาตแม้ด้วยกันทั้ง 2 รูป, และในเรื่อง
แห่งอนันตริยกรรม ย่อมต้องอนันตริยกรรมด้วยกันทั้ง 2 รูป. ถ้าภิกษุผู้รับ
สั่งฆ่าคนอื่นตาย, ปาณาติบาต ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง. อาณัตติกประโยค
ย่อมเป็นอันท่านกล่าวไว้แล้ว ด้วยคำว่า อธิฏฺฐหิตฺวา อาณาเปติ เป็นต้นนั่น.

[ฐานะ 5 และ 6 พร้อมทั้งอรรถาธิบาย]


โนอาณัตติกประโยคนั้น :-
ผู้พิจารณาที่ฉลาด พึงสอบสวน
ฐานะ 5 ประการ คือ วัตถุ กาล โอกาส
อาวุธ และอิริยาบถ แล้วพึงทรงไว้ซึ่ง
อรรถคดี.

อีกนัยหนึ่ง:-
เหตุทำให้การสั่งแน่นอน (สำเร็จได้)
มี 6 อย่างนี้ คือ วัตถุ กาล โอกาส อาวุธ
อิริยาบถ และกิริยาพิเศษ.

บรรดาฐานะมีวัตถุเป็นต้นนั้น ฐานะว่า วัตถุ ได้แก่ สัตว์ที่จะพึง
ถูกฆ่าให้ตาย.

ฐานะว่า กาล ได้แก่ กาลมีกาลเช้าและเย็นเป็นต้น และกาลมีวัย
เป็นหนุ่มสาวมีเรี่ยวแรงและมีความเพียรเป็นต้น.
ฐานะว่า โอกาส ได้แก่ สถานทีมีอาทิอย่างนี้ คือ บ้าน ป่า
ประตูเรือน ท่ามกลางเรือน ถนน รถ หรือทาง 3 แพร่ง.
ฐานะว่า อาวุธ ได้แก่ อาวุธมีอาทิอย่างนั้น คือ ดาบ ลูกศร หรือหอก.
ฐานะว่า อิริยาบถ ได้แก่ อิริยาบถมีอาทิอย่างนี้ คือ การเดิน
หรือนั่ง ของผู้ที่จะพึงถูกฆ่าให้ตาย.
ฐานะว่า กิริยาพิเศษ ได้แก่ กิริยาที่ทำมีอาทิอย่างนี้ คือ แทง ตัด
ทำลาย ถลกหนังศีรษะทำให้เกลี้ยงเหมือนสังข์*.

[อธิบายวัตถุที่จะพึงถูกฆ่า]


ก็ถ้าหากว่า ภิกษุผู้รับสั่งทำให้วัตถุพลาดไป ไพล่ไปฆ่าคนอื่นจาก
บุคคลที่ผู้สั่ง สั่งให้ฆ่า, หรือถูกสั่งว่า ท่านจงประหารข้างหน้าฆ่าให้ตาย
ไพล่ไปประหารข้างหลัง หรือข้าง ๆ หรือที่อวัยวะแห่งใดแห่งหนึ่งให้ตายไป,
ข้อผูกพันทางกรรมย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สั่ง, ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่ภิกษุ
ผู้รับสั่งเท่านั้น. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุผู้รับสั่ง ไม่ทำวัตถุให้พลาดไป ฆ่าผู้นั้น
ตายตามที่สั่งไว้. ข้อผูกพันทางกรรม ย่อมมีแก่เธอทั้ง 2 รูป คือ แก่ผู้สั่ง
ในขณะที่สั่ง ผู้รับสั่งในขณะที่ประหาร. ก็ในเรื่องวัตถุนี้ ความแปลกกันแห่ง
กรรมและความแปลกกันแห่งอาบัติ ย่อมมี เพราะความแปลกกันแห่งวัตถุ.
บัณฑิตพึงทราบความถูกที่หมาย และผิดที่หมาย ในวัตถุอย่างนี้ก่อน.
//* ความหมายของศัพท์นี้ ในสารัตถทีปนี 2/405 อธิบายไว้ว่า ต้องตัดหนังออก (จากศีรษะ)
//กำหนดเพียงหมวกหู และหลุมคอ แล้วเอาก้อนกรวดขัดกะโหลกศีรษะให้มีสีขาวเหมือนสังข์.